วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550

สกู๊ปพิเศษนี้

คำชี้แจง
เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การสอบชิงทุนของนักเรียนไทยที่ได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นในปีที่ผ่าน ๆ มา ดังนั้นทุกคนจะให้ข้อมูลจากประสบการณ์ในปีที่ตนเองสอบเท่านั้น ขอให้ผู้อ่านเข้าใจด้วยว่าสกู๊ปนี้ ไม่ใช่การบอกแนวข้อสอบชิงทุนรัฐบาลญี่ปุ่นในปีนี้แต่อย่างใด และมีการเปลี่ยนแนวข้อสอบทุกปี


และเนื่องจากการสอบถามในครั้งนี้ ติดต่อผ่านทาง email ดังนั้น จึงมีข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ทาง jeducation ขออนุญาตไม่แปลเป็นภาษาไทย เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดการผิดพลาดในการสื่อความหมาย ส่วนที่เป็นสีแดงจะเป็นสายวิทย์ สีน้ำเงินคือสายศิลป์



พนมพร พันธ์หอม
ปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เอกภาษาอังกฤษ โทภาษาญี่ปุ่น

Graduate School of Arts and Sciences,the Department of Language and Infomation Sciences.Major Linguistics , The University of Tokyo(TODAI)
ได้รับทุนประเภท research student ปีการศึกษา 2004
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์
สอบข้อเขียน* แนวข้อสอบข้อเขียนคำถามจะเป็นภาษาอังกฤษ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกมีอยู่ประมาณสิบกว่าข้อ ให้เขียนตอบเป็นประโยคสั้นๆ เป็นคำถามความรู้รอบตัวเกี่ยวกับเมืองไทย ญี่ปุ่น ข่าวคราวของโลกในปัจจุบัน และอาจมีความรู้พื้นฐานวิชาสังคมประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและของโลก ที่เราเคยเรียนมาตั้งแต่สมัยมัธยมด้วย (ซึ่งถ้ายังจำได้ก็ถือว่าข้อนี้ง่ายมาก) และส่วนที่สองให้เขียนเรียงความความยาวประมาณหนึ่งหน้ากระดาษA4หรืออาจน้อยกว่านั้น โดยมีหัวข้อให้เลือกเขียนหนึ่งหัวข้อจากสามหัวข้อ ก็จะมีแนวศิลปะวัฒนธรรม เหตุการณ์และสังคมในปัจจุบัน และเกี่ยวกับธุรกิจหรือการศึกษา เป็นการเขียนแสดงเรียงความในเชิงข้อเท็จจริงและความคิดเห็น เลือกตอบเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะเพราะเคยมีรุ่นพี่บอกมาว่าถ้าจะไปเรียนภาษาญี่ปุ่นก็ควรเขียนตอบเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ


สอบสัมภาษณ์ *การสอบสัมภาษณ์ไม่ยากค่ะ ตอบเป็นภาษาญี่ปุ่น ให้เราอธิบายถึงเรื่องที่เราจะไปเรียนและถามเรื่องทั่วๆ ไป เรื่องที่เคยเรียนมาที่มหาวิทยาลัย เดาสถานการณ์ไม่ออกเลยค่ะ ไม่ถึงสิบนาทีเลย ถึงตอนนี้ก็คงขึ้นอยู่กับดวงแล้วล่ะค่ะ
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
เตรียมตัวมาโดยการอ่านข่าว ฟังข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันในรอบปีที่ผ่านมา เหตุการณ์ที่เด่นๆในโลก กลับไปทบทวนความรู้วิชาสังคมศาสตร์สมัยมัธยมต้น ดูหนังสือเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นหรือดูในเวบนี้ก็ดีค่ะ http://embjp-th.org แล้วจดโน้ตเรื่องที่ควรจำไว้ หรือเข้ามาดูข่าวปัจจุบันเกี่ยวกับญี่ปุ่นในเวบเดียวกันนี้ ถ้าจะเขียนเรียงความเป็นภาษาญี่ปุ่นก็ควรหัดอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่นเพื่อดูการใช้คำศัพท์ด้วยค่ะ คะแนนการเขียนเรียงความมีส่วนเยอะควรจะเตรียมตัวมาให้ดี ถ้าจะให้ดีมากๆ ควรหัดเขียนเรียงความเป็นภาษาญี่ปุ่นไว้ด้วยโดยเลือกหัวเรื่องคร่าวๆ จากด้านบนลองเขียนไว้ว่าควรใช้ประโยคแบบไหน แล้วหัดลองคิดและเสนอความคิดเห็นตัวเองลงไป วันสอบจริงๆ จะได้ทุ่นเวลาในการเขียนค่ะ


ทำใจให้สบายค่ะ ถ้าฟ้ากำหนดให้เราจะได้มาเรียนและมาเจอผู้คนที่นี่ เราก็จะถูกเลือกเองค่ะ
ข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับสายภาษาค่ะ ควรเตรียมตัวเรื่องสิ่งที่เราจะมาเรียนให้ดีก่อนมาด้วย โดยเฉพาะสายภาษาที่เรียนวิชาเอกหรือโทภาษาญี่ปุ่นมาแล้วเลือกจะต่อสาขาวิชาภาษาศาสตร์ (Linguistics) เหมือนเป็นการมาเริ่มต้นใหม่ เพราะส่วนใหญ่ที่เรียนมาคือเรียนเฉพาะภาษาญี่ปุ่นเพื่อให้พูดอ่านเขียนได้ ไม่ได้เรียนวิชาภาษาศาสตร์มาหรือเรียนมาแค่ผ่านๆ แต่การเรียนภาษาศาสตร์ที่นี่ไม่ใช่เรียนภาษาญี่ปุ่นเหมือนที่เคยเรียนมา แต่เป็นการเรียนทฤษฎีเกี่ยวกับภาษาศาสตร์จริงๆ ดังนั้นการศึกษาให้แน่ใจก่อนเลือกว่าตัวเองอยากเรียนมาเรียนสาขาอะไร และเตรียมตัวมาก่อนโดยการปูพื้นฐานวิชาภาษาศาสตร์มาด้วย (หาอ่านที่เป็นภาษาไทยก็ได้) จะทำให้ช่วยลดความเครียดลงได้หลังจากมาที่นี่ค่ะ



วีระพล วงศ์พันธ์
จบรัฐศาสตรบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปีการศึกษา 2544
Research student : Graduate School of Law , Kyushu University
ได้รับทุนประเภท research student [social science] ปีการศึกษา 2546
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์
สอบข้อเขียน* มีหลาย part ทั้งที่เป็นเลือกตอบ วินิจฉัยถูกผิด เติมคำและเขียนเรียงความ ผู้สอบต้องมีความรู้พื้นฐานทางสังคมศาสตร์พอสมควร ก่อนสอบควรดูเรื่องเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาค ความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจ การเมืองไทย-ญี่ปุ่น เหตุการณ์ปัจจุบัน 1ปี ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย ความรู้เกี่ยวกับประเทศในอาเซียน ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างไทยญี่ปุ่น (ทั้งหมดนี้ไม่ต้องอ่านลึกมาก ให้อ่านแล้วจับประเด็นให้ได้ก็พอ) ถ้าจะให้ดีน่าจะดูพวก GDP GNP หรือตัวเลขเกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก ของญี่ปุ่น-ไทยเอาไว้ด้วยจะได้เห็นภาพรวมทางเศรษฐกิจและสามารถวิเคราะห์ได้ (ตรงนี้พี่ขอแนะนำว่าให้ไปดูข้อมูลที่เวปไซต์ http://embjp-th.org จะดีมาก ตรงประเด็นดี) สำหรับการเขียนเรียงความให้พยายามเขียนให้กระชับได้ใจความเอาแต่เนื้อหาสาระที่โดนใจ

สอบสัมภาษณ์ *ถามไม่ยากครับ ขอให้ถามตนเองให้ดีว่าเราจะไปเรียนอะไร อย่างไร ทำไมต้องญี่ปุ่นด้วยและที่สำคัญต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานวิจัยของเราพอสมควร
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
  1. อ่านสรุปข่าว 1ปีที่ผ่านมาก่อนสอบ
  2. อ่านหนังสือตุนไว้ทีละน้อย
  3. ตั้งสติให้ดี คิดไว้ว่า ชะตาฟ้าลิขิต
ะไปญี่ปุ่น ต้องทำใจว่า เราต้องเรียนภาษาใหม่ เราพร้อมไหม เราทำใจได้แค่ไหน ถ้า ok ก็ลุยเลยครับ


Dhanorm Plumwongrot
Research student : Department of electrical and electronic engineering , Tokyo Institute of Technology,Tokyo
ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นประจำปี 2002 ตอนนี้เป็นresearch student ในสาขา LASER electronic ครับ
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์
ผมสอบในกลุ่ม Natuaral Science ครับเป็นข้อสอบภาษาอังกฤษ ประกอบไปด้วยคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา มีทั้งหมด 26 ข้อเป็นแบบตัวเลือก 4 ตัวเลือก ให้เลือกทำ 16 ข้อ เท่าที่จำได้เป็นคณิตศาสตร์ 9 ข้อครับเนื้อหาเท่าที่จำได้มีดังนี้ครับ
  • คณิตศาสตร์ เป็นข้อสอบคาบเกี่ยวระหว่างมัธยมปลายกับชั้นปริญญาตรีปีที่ 1 มีทั้งเรขาคณิต (วงกลม ภาคตัดกรวย) แคลคูลัส (Differential, Integrate, Limit อะไรทำนองนี้) และพีชคณิตครับ
  • ฟิสิกส์ จำได้ว่าเป็นเรื่องสมดุลกล กฎการเคลื่อนที่ ไฟฟ้า กฎของเคปเลอร์ครับ อาจจะมีพวกmoder physics ด้วยครับ
  • เคมี เรื่องไฟฟ้าเคมี ปริมาณสารสัมพันธ์ พวกค่าต่างๆ ในตารางธาตุ ที่สำคัญเขาไม่มีตารางธาตุมาให้นะครับ
  • ชีววิทยา เป็นเรื่องที่ผมจำไม่ได้ครับเพราะไม่ได้ทำ ที่จำได้คราวๆ คือมีเกี่ยวกับวัฎจักรต่างๆ ด้วยเช่น วัฎจักรหายใจ ATP อะไรทำนองนี้ครับ
ส่วนแนวการสอบสัมภาษณ์เป็นแนวที่ว่า ทำไมถึงเลือกเรียนต่อที่ญี่ปุ่น มีความตั้งใจจริงไหม รู้จักสถาบันใดในญี่ปุ่นไหม สนใจเรียนทางด้านไหน แล้วคิดว่าอยากไปเรียนสาขานั้นที่ใด มีพื้นฐานภาษาญี่ปุ่นไหม ถ้าไม่มีจะทำอย่างไร แล้วก็รู้จักญี่ปุ่นแค่ไหน พวกความรู้ทั่วไปในญี่ปุ่นที่น่าจะรู้ครับ เท่านี้แหละครับที่จำได้
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เรื่องการเตรียมตัวทำข้อสอบนั้นก็คงคล้ายๆ กับตอนสอบเอ็นทรานซ์ครับแต่ความยากก็มีมากขึ้นอีกระดับหนึ่ง และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดดังนั้นเวลาเตรียมตัวน่าจะรู้ศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษให้มากๆ ครับโดยการอ่าน Text book ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่ดีครับ นอกจากการสอบข้อเขียนแล้ว ส่วนการสอบสัมภาษณ์ก็สำคัญมากครับ การเตรียมดัวเป็นสิ่งสำคัญมากครับ ลองlist สิ่งที่คิดว่าเขาน่าจะถามแล้วตอบดู จะช่วยได้มากครับ ที่สำคัญคือความมั่นใจกับความตั้งใจจริงครับ

ความพยายามและความตั้งใจจริงทำให้ความฝันเป็นจริงได้ ขอให้โชคดีครับ


Chunyakom Sivaleepunth
Research Student : Civil Engineering Department , Tokyo Institute of Technology , Tokyo
ประเภทของทุนที่ได้รับคือ Research Student ผ่านสถานฑูตญี่ปุ่น ปีค.ศ. 2002
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์
There will be about 4 subjects which will come out for Monbukagakusho written examination during my year. Those are Mathematics, Physics, Chemistry and Biology. All instructions and questions will conduct in English.

So let me talk about Mathematics first, there will be differential equation, eigen value, area integration (Giving tricky geometry and finding for shading area), geometry, probability (Picking a ball for a box), etc. For Physics, you just look on Basic Engineering Entrance examination. Most of questions will be SIMILAR to it. And I would like to tell you that try to calm down during your written examination. Due to my experience in examination room, I cannot do most problems during the first 20 minutes. And it made me feel very bad at that time. But after I got once, then it seems that I can do more problems. So be relax!

In my year, they allow us to do only 16 problems out of 26. And they give only 2 hours to finish all 16 problems. Therefore, sometimes, you should not go straight to the problem. Some problem, it is better to think the way to solve first. Be relax, just do as good as you can! The problems themselve seem very easy, but it is difficult???

And for interview, they just ask something like are you sure that you really want to go to Japan. And they just want to make sure that you can stay in Japan without any problem. It is also a good idea for you to know more about Japan after your written examination result. Since, for me, they ask me "Do I know any news about Japan? And what is it?" And last thing is try to answer all questions with your confidence!
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
For mathematics, try to play with geometry as much as you can. Since, in my year, there will be about 2-3 problems asking about its length, area, etc. And most questions, you have studied before during M4, M5, M6, freshmen and sophomore. So it is good to review and practice with most problems. For physics, review basic engineering entrance examination. There are so many topics, such as projectile, doppler effect, etc.
ีข้อแนะนำอื่น ๆ
After your written examination result, you should contact with your interest laboratory as fast as you can. So it will be a good chance for you during interview. Try your best! For me, I think it is very difficult to get all correct. Therefore, if you can do up to a certain limit, you can pass the written examination.


Torjaras Pongsalee
Ph.D in Regional Studies, School of Cultural and Social Studies,
The Graduated University for Advanced Studies (Sokendai)
ได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่นประเภท Research Student สาขา Social Science ปีค.ศ.1998
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของข้อเขียนและสัมภาษณ์
ข้อเขียน : Most in multiple choice with some short explaination. wide scope of studies fields, current topics, and so on.

สัมภาษณ์ : What u like to do if u can get this scholarship?
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
Read newspaper regarding politics, economics, current issues. Try to write short essay to explain something in 5-7 lines. Make sure your English grammar.

For Interview : pls answer urself that what u like to be in future? what u like to do about ur research plan? possibility of ur research plan.
Good Luck


กรกมล จำเริญดารารัศมี
ปริญญาเอก : Dept. of computer science, Tokyo Institute of Technology , Tokyo
ได้รับทุนสำหรับทำวิจัยสองปีและปริญญาโทและเอก (แบบผ่านสถานทูต) ปี 1998
แนวข้อสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
สายวิทย์ เป็นแนวข้อสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย เป็นแบบเลือกตอบ มีประมาณ 30 กว่าข้อให้เลือกทำ 20 กว่าข้อค่ะ ก็จะรวมหมดทุกวิชา คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ภาษาอังกฤษด้วยรึเปล่าไม่แน่ใจ ลืมไปแล้วค่ะ ข้อสอบสัมภาษณ์ ก็ประมาณว่า คิดว่าไปญี่ปุ่นแล้วจะอยู่ได้รึเปล่า คิดว่าจะลำบากรึเปล่า แล้วจะทนได้มั๊ย กลับมาแล้วอยากจะทำอะไร ทำไมถึงอยากไปญี่ปุ่น ข้อแตกต่างระหว่างญี่ปุ่นกับไทยในแง่ต่างๆ
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
นอกเหนือจากการเตรียมตัวไปสอบข้อเขียนแล้ว สิ่งที่สำคัญน่าจะเป็นเนื้อหาในใบสมัคร เช่นอาจารย์ที่ recommend น่าจะเป็นคนที่จบมาจากญี่ปุ่น และสามารถแนะนำที่เรียนให้เราได้ คือถ้ามีโอกาสหาอาจารย์ที่จะรับเราเข้าเรียนได้ ก็น่าจะมีโอกาสได้ทุนมากกว่าค่ะ ไม่ทราบจะเพิ่มเติมอะไรดี เอาเป็นว่า ไม่ต้องซีเรียสมากเรื่องสอบข้อเขียน เพราะมันคือความรู้ตั้งแต่สมัยม.ปลาย ซึ่งอาจจะลืมไปหมดแล้ว แต่พื้นฐานเหล่านั้นคิดว่าเราได้ใช้ตอนเรียนในมหาลัยอยู่แล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหา น่าจะเน้นตรงการตอบคำถามในใบสมัครให้ดีๆ และหาอาจารย์ recommend ให้เราดีๆจะดีกว่าค่ะ


ธีระศักดิ์ ดํารงรุ่งเรือง
ปริญญาเอก : สาขาทันตแพทย์ ( Masticatory Function Control Department ) Tokyo Medical and Dental University , Tokyo
ได้ทุนปี 1999 (2542) ทุน reserach student 5 years (6 เดือนแรกเรียนภาษา 6 เดือนต่อมาดูงาน ก่อนจะเข้าคอร์ส 4 ปี
แนวข้อสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์
เนื่องจากการทุนนี้เป็นทุนที่ส่งเสริมในทุกสาขาวิชา จึงมีอยู่ 3 กลุ่ม 1. Natural Science ก็เป็นกลุ่มของนักเรียนที่จะมาต่อ ทางสายวิทย์โดยตรงเช่น วิศวะ หมอ ทันตะ วิทยา ผมก็อยู่กลุ่มนี้ วิชาที่สอบก็มี ฟิสิกส์ เลข เคมี ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ โดยรวมแล้วเนื้อหาของสอบข้อเขียนของสายนี้จะเป็นเนื้อหา ม ปลาย + มหาลัยปี 1

ส่วนการสอบสัมภาษณ์ เขามักจะถามสัพเพเหระ เช่นที่บ้านทําอะไร ถ้าไม่ได้ทุนนี้แล้วจะเป็นอย่างไร เรียนจบแล้วจะทําอะไรต่อ คิดว่าถ้าไปญี่ปุ่นแล้วจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า สนใจงานแนวไหน รายละเอียดคร่าว ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่ตัวเองจะไปทํา คนสัมภาษณ์เป็นคนญี่ปุ่น บางครั้งพวกเราคนไทยอาจจะไม่คุ้นสําเนียงภาษาอังกฤษของเขาก็อาจจะทําให้มีปัญหา แต่อยากจะบอกว่า ทุนนี้ไม่ได้ขึ้นกับความเก่งมากนัก ขึ้นกับดวงด้วยว่าเราจะเข้าตากรรมการหรือไม่
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
ทําบุญเยอะๆ มีความตั้งใจจริงที่จะมาเรียน ฝึกฝนภาษาญี่ปุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้


พงศ์ธร ธาราไชย
ปริญญาเอก : คณะวิศวกรรมโยธา (สายวิทยาศาสตร์) Kyoto University , Kyoto
เริ่มรับทุนเพื่อมาศึกษาต่อปริญญาเอกอย่างเดียวเมื่อ เมษายน ปี 2000
ทำอย่างไรถึงได้รับทุน
ก็ต้องไปสอบครับ ต้องมีเกรดเฉลี่ยถึงตามเกณฑ์ ถ้าเกรดไม่ถึง ก็ต้องไปสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ถ้าสอบได้เขาจะลดหย่อนขีดจำกัดล่างของเกรดเฉลี่ยให้ รายละเอียดอ่านได้ที่ web ของ Jeducation นี่แหละครับ หมายความว่าต้องเตรียมตัวพอสมควร หลายปีก่อนอยากได้ทุนทีเดียว
มีการเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการสอบทั้งการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ แนวข้อสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์เป็นอย่างไร
สอบข้อเขียน
สำหรับขั้นสอบข้อเขียนนั้นไม่มีใครช่วยได้นอกจากตัวเองครับ แต่ข้อสอบสำหรับทุนนักวิจัยแบบที่ ผมได้นี้ เป็นข้อสอบระดับมัธยมปลายเท่านั้นไม่ยาก เท่าที่จำได้ข้อสอบรู้สึกจะมีชุดเดียว มีหลายๆวิชารวมมิตรกันอยู่ เช่น คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา วิชาวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป เป็นข้อสอบปรนัย และไม่ต้องทำทุกข้อ เลือกทำได้ จนครบจำนวนที่เขากำหนด รู้สึกว่าแค่ 20 ข้อ ที่สำคัญคือข้อสอบ คล้ายๆ กันทุกปี ไปถามรุ่นใกล้ๆ กันจะทราบแนวข้อสอบได้ดีกว่าครับ

ก่อนสอบสัมภาษณ์

พอสอบข้อเขียนผ่านแล้ว ควรไปติดต่อกับอาจารย์คนไทยที่เรียนจบจากญี่ปุ่น หรือที่รู้จักอาจารย์ญี่ปุ่น เพื่อปรึกษาว่าเราเหมาะจะไปอยู่ตรงส่วนไหนของญี่ปุ่นดี ในขั้นนี้ ถ้าสนิทกับอาจารย์มาก อาจารย์อาจสามารถช่วยเราขอ Letter of acceptation จากอาจารย์ที่ญี่ปุ่นให้ได้ (หมายความว่าเราได้เลือกแล้วว่าจะไปอยู่กับอาจารย์ท่านนั้นเมื่อไปถึงญี่ปุ่น )แล้วนำไอ้ใบนี้ไปให้ทางสำนักข่าวสารญี่ปุ่น ถ้าสามารถทำได้ขนาดนี้แล้ว โอกาสตกสัมภาษณ์ น้อยครับ

สอบสัมภาษณ์
วันสอบสัมภาษณ์ควรไปให้ตรงเวลา กรรมการสอบสัมภาษณ์เป็นคนญี่ปุ่น สองคน คิดว่าเป็นพวกอาจารย์ญี่ปุ่นที่สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยเมืองไทย สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ แต่ถ้าอยู่สายวิทย์แต่พูดภาษาญี่ปุ่นตอนสอบสัมภาษณ์ได้ อีก รับรองคะแนนกระฉูด เพราะมันแสดงถึงความสนใจในประเทศของเขา และเตรียมจะไปเรียนที่บ้านเขาจริงๆ
คำถามที่ผมถูกถาม
  1. ทำไมอยากไปเรียนที่ญี่ปุ่น
  2. ตอนนี้ทำอะไรอยู่ ทำงานที่ไหน
  3. ถ้าได้ทุนแล้วจะไปหรือเปล่า

    สัมภาษณ์ไม่น่าจะถึง 10 นาทีครับ

Jakkrapong Sumethnapis
:
Electrical engineer ,
Tokyo Institute of Technology , Tokyo
I get this monbusho scholarship in the 2000.(2 years ago) in the majoring of Electrical engineer
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไรบ้าง
About the examination ,in that year have two step : The first one is subject exam: math , physic , chemistry , biology and others.total have about 20-30 questions.( I am not sure maybe 22)
Math~eigen value series prob=7 questions
Physic~ static Force....=6 questions.
other :i can not remember.
It is like the entrance examination but little difficult. They ask us to choose 15 questions to do. In that years ,more than 12 will be pass.(this score have effect to the next step.
การสอบสัมภาษณ์เป็นอย่างไร มีข้อแนะนำอย่างไรบ้าง
The basic question. You should have confidence interest and information about japan. Almost have question :
"which U that you want to study?
Why choose Japan?
What about other scholarship"
This is all that i can remember.I hope that it are useful.BYE.


ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย
ปริญญาเอก :
Department of Computer Science ,
Tokyo Institute of Technology , Tokyo
ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นแบบสมัครตรงที่สำนักข่าวสารฯ มาตอน เมษายน ปี 2001 ได้ทุนในกลุ่ม Natuaral Science มาเรียนต่อ Computer Science ที่ Titech
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไรบ้าง
ข้อสอบข้อเขียนของสายวิทย์ เป็นความรู้ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และคณิต ในระดับมัธยมปลาย - ปริญญา ตรีปีหนึ่งครับ กล่าวคือเนื้อหาเริ่ม Advance มากกว่าข้อสอบ Entrance ธรรมดาได้บ้าง แต่หลายๆ ข้อ ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับข้อสอบ Entrance ในปีของผม เขาจะให้ข้อสอบมา 22 ข้อเลือกทำ 15 ข้อ ก็เลือกเอาตามที่ตัวเองคิดว่าทำได้ถูกมากที่สุด

การสอบสัมภาษณ์ของผม มีผู้มาสัมภาษณ์ 3 คนเป็นชาวญี่ปุ่นหมดเลย แต่สามารถพูดภาษาอังกฤษ ได้ดี คำถามดูจะเน้นไปใน 2 เรื่องคือ หนึ่ง แนวความคิดเรื่องหัวข้อหรือเรื่องสาขาที่จะไปเรียน เดาว่า มันคงเกี่ยวพันกับการเลือกของเขาพอสมควร เนื่องจากในปีหนึ่งๆ น่าจะมีผู้มาสอบแข่งในสาขา หรือหัวข้อใกล้เคียงกัน ซึ่งเขาคงจัดให้ได้รับทุนเพียงบางคน สอง อนาคตหลังจากเรียนจบ คิดว่าจะ ทำอะไร ตรงนี้ผมมองว่าเขาไม่ได้เน้นว่าต้องการสมองไหลไปช่วยงานเขาเท่าไหร่ แต่อาจจะมองว่า มีอุดมการณ์อย่างไรบ้าง
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
ผมเองเคยสอบครั้งแรกติดแค่ตัวสำรองและก็พลาดไป สอบครั้งที่สองในปีต่อมาจึงจะได้ทุน สรุปเองง่ายๆ ว่าเขามีเกณฑ์การเลือก 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ หนึ่ง เกรดที่ผ่านมา (ตรงนี้รวมถึงเหรียญทอง และมหาวิทยาลัยที่จบมา) สอง ผลสอบข้อเขียน สาม การสอบสัมภาษณ์

ผมมองว่าสอบข้อเขียนเป็น การกรองอันดับแรกคือ ถ้าได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด น่าจะได้สิทธิ์เท่ากันหมดทุกคน ดังนั้นอันดับหนึ่ง ต้องทำข้อเขียนให้เกินเกณฑ์ก่อน ผมไม่ทราบว่าเกณฑ์เท่าไหร่ แต่คงต้องเตรียมตัวโดยเอาข้อสอบ Entrance ของแต่ละวิชา มานั่งดูซักปีสองปีเพื่อระลึกเนื้อหา หลังจากนั้นคงต้องให้สิทธิ์กับคนที่ เกรดสวยกว่า มหาวิทยาลัยดังกว่า (พูดตรงๆ นะครับ) จะเฉือนคนเหล่านี้ด้วยการสัมภาษณ์คงยาก ครับ แต่ถ้าศักดิ์ศรีเท่ากัน คงต้องตัดกันที่อุดมการณ์และการเตรียมตัวตอบคำถาม คิดว่าน่าจะต้อง เตรียมเรื่องราวหัวข้อ ความสนใจในสาขา (โดยโยงไปว่าทำไมจึงเลือกมาเรียนที่ญี่ปุ่น ยกเว้นเรื่อง เงินนะครับ) คนที่เกรดดีมาอยู่แล้ว หากดวงไม่ตกเกินไป คนที่มาแข่งในสาขาเดียวกันไม่มากเกินไป คงไม่มีปัญหาครับ

Wisayataksin Sumek
Research Student : Department of Communications and Integrated Systems, Tokyo Institute of Technology
ของผมเป็นประเภท Research student ก็สอบกับทางสถานฑูตแบบปกติ ตอนนี้ก็เป็น Research Student ที่โตโกได กับเรียนภาษาญี่ปุ่นเพิ่งจะได้มาเมื่อเดือนเมษาที่แล้วนี้เอง
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไรบ้าง
ข้อสอบของสายผมเป็นสายวิทย์ ก็มีข้อสอบปนกันทั้งคณิต ฟิสิกส์ เคมีแล้วก็ชีวะ มีทั้งหมด 26 ข้อ ให้เลือกทำ 16 ข้อ ข้อสอบเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ส่วนใหญ่ก็เป็นเนื้อหาตอนม.ปลายกับช่วงตอนปี 1 เช่น ฟิสิกส์ก็จะออกพวกกลศาสตร์ , มีไฟฟ้าบ้าง คณิตก็จะมีความน่ะจะเป็น การอินทิเกรตหาพื้นที่ เป็นต้นส่วน เคมีกับชีวะ ก็ออกประมาณเนื้อหาช่วงม.ปลายกับปี 1 เหมือนกัน

ส่วนเมื่อสอบผ่านข้อเขียนแล้ว เค้าก็จะนัดมาสัมภาษณ์ กับคนญี่ปุ่น (รู้สืกว่าจะเป็นคนของสถานฑูต) ก็จะถามเกี่ยวกับว่ามีความสนใจในประเทศญี่ปุ่นมากขนาดไหน เคยไปที่ญี่ปุ่นหรือเปล่า ทำไมถึงอยากไปเรียนที่ญี่ปุ่น ทำไมไม่เลือกไปเรียนที่ยุโรปหรืออเมริกา อะไรทำนองนี้
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
การเตรียมตัวก็คงไม่ต้องอะไรมาก ทบทวนเนื้อหาช่วงที่บอก แนะนำให้หา TEXT ภาษาอังกฤษมาอ่าน เพราะจะได้รู้ศัพท์เทคนิคด้วย จะได้ง่ายขึ้นในการทำข้อสอบ ตัวเลขในการคำนวณก็ไม่ยุ่งยากมากมาย คล้าย ๆ ข้อสอบเอนท์ และก็ห้ามเอาเครื่องคิดเลขเข้าไปสอบด้วยน่ะ

ก็คงมีแค่นี้ หวังว่าคงช่วยอะไรได้บ้างน่ะครับ GUMBATTE KUDASAI....


Boonsarn Pitakdumrongkija
Research Student : Integrated Systems , Tokyo Institute of Technology , Tokyo
I'm a newcomer here. I just received Monbusho this year. Now I'm a Japanese language student under Prof.Suzuki supervisor. I'm in the field of Wireless Communication.
แนวข้อสอบปีที่สอบเป็นอย่างไรบ้าง
For the test paper, the preparation should be emphasized on mathematics, physics, and chemistry (for engineering field), especially on mathematics. Just try to do the best you can. Practice as much examples as you can. The rest is just up to your luck because I was lucky to pass it also. During the interview, just try to be yourself and give them your confidence that you really want to go and study in Japan.
คิดว่าควรมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง หรือมีข้อแนะนำรุ่นน้อง ๆ ยังไงบ้าง
About the written examination, for mathematics, try to emphasize on geometry (triangle, rectangular, circle, etc.). The question is quite tricky so if you can try to practice yourself with mathematical for olympics. It's the kind of questions that if you can get the answer, you will but if you can't, then you can't. For physics, it is very broad. It has everything from static, dynamic (acceleration, projectile), electricity, nuclear, etc. Chemistry is quite hard for someone who haven't touched it for years (like me).

That is all for my suggestion krub. Best wish to those who wants to take the exam krub.




ขอขอบคุณ
jeducation ต้องขอขอบคุณนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นทุก ๆ ท่านเป็นอย่างยิ่งค่ะ ที่สละเวลามาเขียนคำแนะนำให้แก่เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ รุ่นหลัง เชื่อว่าคำแนะนำเหล่านี้จะเป็นประโยชน์และเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่จะสอบในรุ่นต่อ ๆ ไป


นักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่นท่านอื่น ๆ ที่มีข้อแนะนำเพิ่มเติม กรุณาส่งคำแนะนำมาที่ jeducation ในแบบฟอร์มนี้ด้วยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อแนะนำข้างต้นจะเป็นของสายวิทย์เสียส่วนใหญ่ หากผู้ที่ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นของสายศิลป์ท่านใด มีคำแนะนำเพิ่มเติม จะขอบคุณมากค่ะ

รายละเอียดทุนรัฐบาลญี่ปุ่น

ไม่มีความคิดเห็น: